top of page

เรื่อง โวหารการเขียน

ความหมายของโวหาร

โวหาร หมายถึง ถ้อยคำที่ใช้ในการสื่อสารที่เรียบเรียงเป็นอย่างดี มีวิธีการ มีชั้นเชิงและมีศิลปะ เพื่อสื่อให้ผู้รับสาร รับสารได้อย่างแจ่มแจ้งชัดเจนและลึกซึ้ง รับสารได้ตามวัตถุประสงค์ของ      ผู้ส่งสาร การเขียนเรื่องราวอาจใช้โวหารต่างกันแล้วแต่ชนิดของข้อความ โวหารอาจจำแนก  ตามลักษณะของข้อความหรือเนื้อหาเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้

     ๑. บรรยายโวหาร

     ๒. อธิบายโวหาร

     ๓. พรรณนาโวหาร

     ๔. อุปมาโวหาร

     ๕. สาธกโวหาร

      ๖. เทศนาโวหาร

 

๑. บรรยายโวหาร

คือ โวหารที่ใช้บอกกล่าว เล่าเรื่อง อธิบายหรือบรรยายเรื่องราวเหตุการณ์ ตลอดจนความรู้ต่าง ๆอย่างละเอียด เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจเนื้อหา สาระอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน เนื้อหาที่บรรยายอาจเป็นเรื่องที่สมมุติหรือเรื่องจริงก็ได้ เรื่องที่ใช้บรรยายโวหาร ได้แก่ การเขียนตำรา รายงาน บทความ เรื่องเล่า เป็นต้น

 

แนวทางการเขียน

๑. เขียนอย่างชัดเจน แสดงข้อเท็จจริงอย่างถูกต้อง

๒. เขียนรวบรัด เฉพาะสาระสำคัญอย่างตรงไปตรงมา

๓. ใช้ภาษาเข้าใจง่าย ใช้คำน้อยแต่กินความมาก

ตัวอย่างการเขียนประเภทบรรยายโวหาร

image.png

 

2. อธิบายโวหาร

คือ โวหารที่ทำให้ความคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งนำประเด็นที่สงสัยมาอธิบาย ขยายความ   ให้เข้าใจแจ่มแจ้ง เช่น การอธิบายตามลำดับขั้น การอธิบายด้วยการให้นิยาม หรือคำจำกัดความ การยกตัวอย่างเปรียบเทียบ การชี้สาเหตุและผลลัพธ์ที่สัมพันธ์กันและการใช้อุปกรณ์หรือภาษาประกอบ

แนวทางการเขียน

1. เขียนโดยการให้คำนิยาม

2. เขียนโดยการใช้ตัวอย่างประกอบ

3. เขียนอธิบายตามลำดับขั้นตอน

4. เขียนอธิบายจากสาเหตุไปหาผลลัพธ์หรือผลลัพธ์ไปหาสาเหตุ

 

ตัวอย่างการเขียนประเภทอธิบายโวหาร

image.png

๓. พรรณนาโวหาร

คือ โวหารที่เลือกใช้ถ้อยคำสำนวนที่ไพเราะเพราะพริ้ง เล่นคำ เล่นอักษร ใช้ถ้อยคำทั้งเสียงและความหมายให้ตรงกับความรู้สึกที่ต้องการพรรณนา รู้จักปรุงแต่งถ้อยคำ ให้ผู้รับสารเกิดภาพพจน์ กล่าวถึงเรื่องราว ให้ผู้รับสารเกิดภาพพจน์ เกิดอารมณ์คล้อยตามไปด้วย ใช้ในการพูดโน้มน้าว อารมณ์ของผู้ฟัง ชมความงามของบุคคล สถานที่และแสดงอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ เป็นต้น

 

แนวทางการเขียน

๑.ไม่เคร่งครัดเรื่องข้อเท็จจริง แต่ต้องมีความสมจริง

๒.สร้างภาพให้ผู้อ่านมองเห็นและเกิดอารมณ์ความรู้สึกคล้อยตาม

๓.เลือกถ้อยคำที่สื่อความหมาย ภาพ และอารมณ์ได้อย่างชัดเจนมีความเหมาะสมกับเรื่องราว

 

ตัวอย่างการเขียนประเภทพรรณนาโวหาร

image.png

๔. สาธกโวหาร

คือ โวหารที่มุ่งให้ความชัดเจนโดยการยกตัวอย่างหรือเรื่องราวประกอบการอธิบาย เนื้อหาสาระเพื่อสนับสนุนการใช้สาธกโวหาร ควรใช้ถ้อยคำภาษาที่เข้าใจง่าย รู้จักเลือกว่าเนื้อหาตอนใดควรใช้ตัวอย่างประกอบ หรือเรื่องราวประกอบ และตัวอย่างที่ยกมาประกอบต้องสอดคล้องกับเนื้อหา และเป็นเรื่องที่น่าสนใจสมเหตุสมผล

 

แนวทางการเขียน

๑.ยกตัวอย่างเรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลกับเนื้อหา โดยไม่ขัดแย้งกัน

๒. ใช้ภาษาชัดเจนและเข้าใจง่าย

๓. ใช้โวหารอื่นประกอบให้สอดคล้องเหมาะสมกับเนื้อหา

 

ตัวอย่างการเขียนประเภทสาธกโวหาร

image.png

๕. เทศนาโวหาร

คือ โวหารที่มุ่งโน้มน้าวใจให้เกิดความรู้สึกคล้อยตาม เป็นการกล่าวในเชิงอบรม แนะนำ       สั่งสอน เสนอทัศนะ ชี้แนะ การใช้เทศนาโวหารควรใช้ถ้อยคำภาษาให้เหมาะสมกับผู้รับสาร ใช้ถ้อยคำในการชี้แจงเหตุผลที่กล่าวถึงให้แจ่มแจ้งชัดเจนและชี้แจงไปตามลำดับไม่สับสนวกวน

 

แนวทางการเขียน

๑. เขียนอย่างชัดเจน สามารถอธิบายและหาเหตุผลประกอบได้และมีหลักฐานอ้างอิงประกอบ

๒. ใช้ภาษาเข้าใจง่าย กระชับ มีน้ำหนัก และเร้าความสนใจของผู้อ่าน

๓.ใช้โวหารชนิดอื่นประกอบร่วมด้วย

 

ตัวอย่างการเขียนโวหารประเภทเทศนาโวหาร

image.png

๖. อุปมาโวหาร

คือ โวหารที่กล่าวเปรียบเทียบ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นการใช้อุปมาโวหารควรเลือกใช้ถ้อยคำที่เข้าใจง่าย และสละสลวย เนื้อหาที่จะเปรียบเทียบควรเป็นเนื้อหาที่อธิบายให้เข้าใจ  ได้ยาก เปรียบเทียบกับสิ่งที่เข้าใจได้ง่าย หรือสิ่งที่ผู้รับสารรู้ดีอยู่แล้ว และข้อความที่จะยกมาเปรียบเทียบ (อุปไมย) กับข้อความที่นำมาเปรียบเทียบ (อุปมา) จะต้องเหมาะสมกัน

 

แนวทางการเขียน

๑.เปรียบเทียบสิ่งที่เหมือนกันสองสิ่ง (มักมีคำว่า เหมือน ดุจ คล้าย เปรียบอย่าง ดัง)

๒. เปรียบเทียบโดยการโยงความคิดจากสิ่งหนึ่งไปยังสิ่งหนึ่ง

3. เปรียบเทียบโดยการยกตัวอย่างประกอบ

 

ตัวอย่างการเขียนโวหารประเภทอุปมาโวหาร

image.png
bottom of page